Archive | March, 2012

ประวัติกีฬา เทวันโด

3 Mar

 

เทควันโด เป็นศิลปป้องกันตัวของประเทศเกาหลี เทควันโดจึงมีความหมายว่า”ศิลปะในการใช้มือและเท้าด้วยสติปัญญา” แต่ส่วนมากจะใช้เท้ามากว่ามือ เทควันโดจึงกลายเป็นกีฬาที่นิยมอีกชนิดหนึ่งและสามารถฝึกได้โดยไม่จำกัดเพศและวัยซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกนอกจากจะสามารถป้องกันตนเองได้แล้วยังใช้ฝึกในด้านของสมาธิได้อีกด้วย ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม ( Un Yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลกและเป็นประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี สำหรับเทควันโดในประเทศไทย TaeKwonDo In The Kingdom of Thailand ยุคแรก เทควันโดมีการเรียนการสอนเฉพาะทหารอเมริกันตามฐานทัพต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น อู่ตะเภา จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา เป็นต้น โดยทหารอเมริกันได้จ้างอาจารย์เทควันโด จากประเทศเกาหลีมาเป็นผู้ฝึกสอนให ้ ยุคก่อนปัจจุบัน เป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนเมื่อประมาณ 25 ปีกว่าได้มีการเรียนการสอนที่บริเวณด้านหลังโรงภาพยนตร์ลิโดสยามสแควร์ ซึ่งก็ยังมีคนเรียนกันไม่มากนัก ในเวลาต่อมา เทควันโดได้เปิดสอนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัว อาภัสสา ถ.สุขุมวิท ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ โดยการนำของ คุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งมีความสนใจและรักกีฬาเทควันโดอย่างจริงจัง ทั้งยังได้พัฒนาและเผยแพร่เทควันโดในประเทศไทย โดยการนำ อ.ซอง กิยองจากประเทศเกาหลีมาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนและ คุณมัลลิกายังเป็นนายกสมาคมเทควันโดคนแรกของประเทศไทยหลังจากนั้นเทควันโดก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบัน เทควันโดเป็นกีฬา ที่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาแห่งชาติของไทย รวมทั้งซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ทำให้มีการถ่ายทอดข่าวสู่ประชาชนทั้ง หนังสือพิมพ์ และข่าวโทรทัศน์

ประวัติกีฬา เปตอง

3 Mar

เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีการบันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันได้ใช้การกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่เศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ

ในยุคกลางประมาณ ค.ศ. 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศษ ครั้นพอสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น

ต่อมาในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจพระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ ให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศสและเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆ ไป ได้เล่นกันอย่างเสมอภาคทุกคน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนามและเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น

ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูลโปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป

จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1910 ตำบลซิโอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชรด์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูก บูล-โปรวังซาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลเก่งกาจที่สุดในขณะนั้น และได้เป็นแชมป์โปรวังซาลในยุคนั้นด้วยแต่ได้ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงจนขาทั้งสองข้างพิการเดินไม่ได้ไม่สามารถจะเล่นกีฬาโปรวังซาลเหมือนเดิมได้ ต้องนั่งรถเข็นดูเพื่อนๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเลย

วันหนึ่งขณะที่นายจูลร์ เลอนัวร์ ได้นั่งรถเข็นมองดูเพื่อนๆ เล่นเกมโปรวังซาลอย่างสนุกสนานอยู่นั้น น้องชายเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเป็นอย่างมาก น้องชายของเขาจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยการขัดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนในวงกลม ให้ขาทั้งสองยืนชิดติดกัน ไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล ทั้งนี้โดยมีเพื่อนๆ และญาติของนาย จูลร์ เลอนัวร์ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายจูลร์ เลอนัวร์ จึงได้มีโอกาสร่วมเล่นกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้อย่างสนุกสนามและเพลิดเพลินเหมือนเดิม

เกมกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเข้าสู่นักกีฬา นักการเมือง และข้าราชการประจำในราชสำนัก จนในที่สุดก็ได้มีการก่อตั้ง “สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นในปี ค.ศ.- 1938 จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่นมากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. ลิโยเน่ล์
2. โปรวังชาล (วิ่ง 3 ก้าวแล้วโยน)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นในปัจจุบัน)

กีฬาเปตองจัดแข่งขันชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.-1959 ที่เมืองสปา ประเทศเบลเยียม นักเปตองจากประเทศฝรั่งเศสได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ

ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย สำหรับในประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางมากในปัจจุบัน

วิธีการเล่น

ข้อ 1.
เปตองเป็นกีฬาที่เล่นได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูง โดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติและนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.1 ส่วนการแข่งขันอื่น ๆ สมาคมฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมแต่ต้องมีขนาดกว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย
1.2 เกมหนึ่งกำหนดให้ใช้ 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อ ๆ ไป (จะใช้เพียง 11 คะแนนก็ได้) สำหรับชิงชนะเลิศในระดับนานาชาติหรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน
ข้อ 2
ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
2.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยงเป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อเลือกจุกเริ่มแล้วให้เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เท้าทั้งสองข้างเข้าไปยืนอยู่ได้ (เส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 0.35-0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการแข่งขันในสภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลมห่างจากวงกลมของสนามอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.2 ผู้ที่เตรียมเล่นจะต้องอยู่ภายในวงกลมห้ามเหยียบเส้นรอบวง ห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกลงพื้นส่วนอื่นร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็นให้ขีดวงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้าของรถเข็นต้องให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม
2.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรกเสมอไป
2.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ชำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
ข้อ 3.
ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีต้องมีกฎเกณฑ์ ดังนี้
3.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า
ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี)
ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 13- 14 ปี)
ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุไม่เกิน 15- 17 ปี)
ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ)
3.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาล์วไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร
3.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม (ถ้ามีการโต้แย้งในกรณีนี้ให้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด)
3.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อ ๆ ไป ให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งลูกเป้าที่อยู่ในเที่ยวที่แล้วเว้นแต่กรณีดังนี้
ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามที่กติกาได้กำหนดไว้
ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังได้ตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากตำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้ว แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาล์ว (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
– (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์ว ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร)
ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นฝ่ายที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์จะเล่นในระยะนั้น ๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากตำแหน่งจากเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาว์ล (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
– (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์ว ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร)
ง. ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันโยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกากำหนดจะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามเป็นผู้โยนซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้ง เช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตามแนวตรง (ตั้งฉาก) แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาล์ว (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์วให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร) วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลังนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้ง ก็ตาม
จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนได้ไม่ดีตามที่กติกากำหนดก็ตาม แต่ทีมที่โยนลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตองลูกแรกอยู่
ข้อ 4.
ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์หรือสิ่งที่เคลื่อนที่อื่น ๆ แล้วหยุด ให้นำมาโยนใหม่โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้
4.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้วฝ่ายตรงกันข้ามยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ให้เริ่มโยนและลูกเปตองใหม่
4.2 ถ้าฝ่ายตรงกันข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 5.
ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์ว มี 5 กรณีดังนี้
5.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7
5.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้นยังถือว่าดี ลูกเป้าที่ถือว่าฟาล์ว คือลูกเป้าที่ออกเส้นฟาล์วเท่านั้น
5.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว ทั้งผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อตรวจสอบว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่
5.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไป มีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร
5.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบภายใน 5 นาที
ข้อ 6.
ก่อนหรือหลังการโยนลูกเป้า ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นที่มีสิทธิ์ปรับสนามที่มีหลุมซึ่งเกิดจากการโยนลูกเปตองของผู้เล่นคนที่แล้ว และอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎต้องลงโทษดังนี้
6.1 ถูกเตือน
6.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วหรือลูกที่กำลังจะเล่นเป็นลูกฟาล์ว
6.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิด ให้งดเล่น 1 เที่ยว
6.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม
6.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน
ข้อ 7.
ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากมีใบไม้ กระดาษหรือสิ่งอื่น ๆ มาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้
7.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้วและเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัดหรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม
7.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนที่อื่น ๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจากสนามอื่นให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ต้องเครื่องหมายกำหนดจุดเดิมของลูกเป้า
7.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น
7.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นยังไม่ลอยน้ำ
ข้อ 8.
ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
8.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
8.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความอดทน และความเอื้ออารีต่อกัน
ข้อ 9.
ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
9.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลืออยู่ การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียวฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่นและจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
9.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่คะแนนเที่ยวที่เป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
ข้อ 10.
ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
10.1 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดูหรือผู้ตัดสินแล้วหยุด ให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
10.2 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุด มีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ในตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ใหม่แต่ ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
10.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ (ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้น มิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้าอยู่ในตำแหน่งใหม่
ข้อ 11.
ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไปจะต้องมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงกันข้าม แต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7

การวัดระยะและการวัดคะแนน

ข้อ 1.
ในการวัดคะแนนอนุญาตให้โยกย้ายลูกเปตองที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่องหมายที่มีตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมดถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ให้ใช้วงเวียนทำการวัด
ข้อ 2.
ในการวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่าตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง (ส่วนอุปกรณ์การวัดที่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ห้ามวัดโดยการนับระยะเท้า ) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้คะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงกันไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสินเป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด และหากผู้เล่นเป็นฝ่ายฝ่าฝืนกติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้
ข้อ 3.
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยวลูกเปตองทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัดคะแนน ให้ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 4.
ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือเปตองที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นและในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหาทำการวัดทุกครั้ง ในการวัดคะแนนแต่ละครั้ง ก่อนทำการวัดผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดเปรียบและถ้าได้วัดไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้เปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริงถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าจะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม
ข้อ 5.
ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูกให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
5.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ด้านตรงข้าม โดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนนในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้า
5.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูกเปตองที่อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
5.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองทีหลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป ถ้าลูกเปตองทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ
ข้อ 6.
หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกาะติดกับลูกเปตองหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ่งนั้นออกก่อนการวัดคะแนนทุกครั้ง
ข้อ 7.
การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันแต่ละเกมเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้น ๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระมัดระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้ามบัตรประจำตัวนักกีฬา-รุ่นของผู้เล่นสนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น
ข้อ 8.
ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
8.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุก ๆ 5 นาที
8.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มการแข่งขันทุกครั้ง
8.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมงทีมที่ยังไม่ได้ลงทำการแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมนั้น
8.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวน ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้าและจะเล่นลูกเปตองได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิเท่านั้น (ตามประเภทที่แข่งขัน)
ข้อ 9.
เมื่อมีการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้น แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
9.1 เมื่อการแข่งขันในเกมนั้นได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมนั้น
9.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสาย จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมที่ 2 ได้ ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมแรกจะแพ้หรือชนะก็ตาม
9.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมนั้นจะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาเล่นช้าลงแข่งขันในเกมต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในในสมัครด้วย
9.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อลูกเป้าที่โยนไปในสนามนั้น ได้ตำแหน่งถูกต้องตามกติกา
ข้อ 10.
การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่นที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในทีมอื่นของการแข่งขันเดียวกัน
ข้อ 11.
ในระหว่างการแข่งขันหากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุผลสุดวิสัย ไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้นที่มีอำนาจให้หยุดการพักการแข่งขันชั่วคราวหรือยกเลิกการแข่งขัน
11.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้ว รอบสองหรือรอบต่อ ๆ ไป หากยังมีบางทีมและบางสนามยังแข่งขันไม่เสร็จ ผู้ตัดสินอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ดีตนเห็นสมควร ด้วยความเห็นชอบคณะกรรมการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันนั้นดำเนินไปด้วยดี
11.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนจะออกไปจากสนามต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 32. และ 33.
ข้อ 12.
ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หรือรอบอื่น ๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีม และผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน และผลการแข่งขันที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็ให้ถือโมฆะด้วย นอกจากนั้นแล้วผู้เล่นทั้งสองทีมจะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่กำหนดไว้ข้อ 11. อีกด้วย
ข้อ 13.
ผู้เล่นที่มีพฤติกรรมอันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคน อื่น ๆ หรือผู้ดู จะถูกลงโทษตามสภาพความผิดดังนี้
ก. ให้ออกจากการแข่งขัน
ข. ถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัวนักกีฬา)
ค. งดให้รางวัลหรือเงินรางวัล
13.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระทำผิดอาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย
13.2 บทลงโทษ (ก) (ข) เป็นอำนาจของผู้ตัดสิน
13.3 บทลงโทษ (ค) เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่ทำรายงาน และส่งรางวัลที่ยึดไว้นั้นให้สมาคมฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
13.4 การลงโทษทุกกรณี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสมาคม ฯ ที่จะพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ข้อ 14.
ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์ฯ เปตองนานาชาติหรือสมาคมเปตองแห่งประเทศไทย ฯ มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างมีระเบียบและถูกต้องตามกติกาอย่างเคร่งครัด และมีอำนาจให้ผู้เล่นทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินออกจากการแข่งขันได้
14.1 หากมีผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการจลาจลในสนาม แข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯ ทราบ ทาสหพันธ์ฯ จะได้เรียกตัวผู้กระทำผิดนั้นมาชี้แจงต่อคณะกรรมการระเบียบวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป
ข้อ 15.
หากกรณีอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในกติกาข้อนี้เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขอความร่วมมือจากคณะกรรมการชี้ขาดการแข่งขันครั้งนั้นเพื่อพิจารณาตัดสินผู้ชี้ขาดตามสมควรแก่กรณี (คณะกรรมการชี้ขาดประกอบด้วยกรรมการ 3 หรือ 5 คน)
15.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการ ผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็นการสิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นผู้ชี้ขาด
15.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย การไม่สวมเสื้อไม่สวมรองเท้า ถือว่ามีความผิด ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ ถ้าผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง และหากยังเพิกเฉยฝ่าฝืนอีก จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน

ประวัติกีฬา กอล์ฟ

3 Mar

กอล์ฟเป็นกีฬาที่เล่นในยามว่าง และแข่งขันกันทั้งระดับสมัครเล่นและระดับอาชีพ เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในความนิยมระดับโลก ผู้เล่นจะมีไม้หลายอันเป็นชุด แต่จะต้องไม่เกิน 14 อัน ใช้ตีลูกเล็กๆ จบกันเป็นหลุมต่อเนื่องกันไป อาจจะ 9 หรือ 18 หลุมตามแต่กำหนด โดยนับการตีจำนวนครั้งน้อยที่สุดจะดีที่สุด สนามต่างๆ ที่ใช้เล่นได้รับการออกแบบมาให้มีระยะทาง อุปสรรคต่างๆ ในแต่ละหลุมเช่นอุปสรรคน้ำ บังเกอร์ทราย ต้นไม้ ความลาดเทของสนามและกรีน เป็นต้น เพื่อให้มีความยากง่ายและความท้าทายในการเล่น 


            มีหลายประเทศอ้างว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดกีฬากอล์ฟ เช่นประเทศเยอรมันนี ในศตวรรษที่ 14 เจ้าของฝูงแกะซึ่งจ่ายภาษีให้กับขุนนางเจ้าของที่ดิน ได้รับสิทธิ์ใช้ผืนที่ดินเลี้ยงแกะโดยขุนนางให้ใช้ไม้ที่ปลายตาขอสำหรับเกี่ยวคอแกะ ตีก้อนหินลูกกลมๆ ตามจำนวนครั้งเป็นเท่ากับจำนวนแกะที่เลี้ยงไว้ ขนาดผืนดินใช้เลี้ยงแกะเท่ากับความกว้างยาวที่เจ้าของฝูงแกะตีได้ อีกทฤษฎีหนึ่งของจุดเริ่มต้นกีฬากอล์ฟ มาจากชาวประมงชาวสกอตที่กลับจากการหาปลา เวลาเดินผ่านทุ่งหญ้าก็เอากิ่งไม้เดินหวดลูกหินไปตามทาง และเมื่อหวดไปครั้งหนึ่งก็ลองหวดต่อไปเรื่อยๆ ดูว่าจะตีไปได้ไกลกว่าลูกแรกหรือไม่ เมื่อลูกหินหล่นลงไปในบ่อหรือแอ่งดินที่แกะใช้เป็นที่หลบภัยธรรมชาติ ชาวประมงก็ต้องใช้ความสามารถที่จะตีให้ลูกหินออกมาได้จนกว่าจะเดินถึงบ้าน บ่อนั้นก็ได้พัฒนามาเป็นบังเกอร์ทราย เมื่อลูกกอล์ฟตกลงไปในโพรงที่กระต่ายขุดไว้ก็เท่ากับเป็นการค้นคิดวิธีการเล่นกอล์ฟขึ้นมาในตัวเองว่าเกมส์จะจบลงเมื่อลูกลงหลุม
เป็นที่ยอมรับกันว่ากีฬากอล์ฟหรือกีฬาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงได้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ริเริ่มขึ้นเมื่อใด ได้มีการค้นคว้าหาจุดเริ่มต้นย้อนอดีตไปจนถึงยุคจักกรวรรดิ์โรมันซึ่งมีการเล่นเกมส์ที่เรียกว่า พากานิก้า (Paganica) บ้างก็อ้างว่ากีฬากอล์ฟพัฒนามาจากการเล่น ชูเดอมาล (Jeu de mail) ของชาวฝรั่งเศส หรือ โคลเวน (Kolven) ของชาวฮอลแลนด์ นอกจากนั้นก็ยังมีเกมส์อื่นๆ ซึ่งเล่นกันในหมู่ขุนนางอังกฤษ และจักรพรรดิ์โรมันเล่นในยามว่าง เป็นเกมส์ที่ยืนด้านข้าง ใช้ไม้ตีลูกที่มีเปลือกทำจากหนังวัวบางๆ เย็บติดกันและยัดไส่ด้วยขนห่าน และลูกที่ใช้ตีในบางเกมเป็นแกนไม้เนื้อแข็ง นำมาขัดเป็นก้อนกลมๆ และบางเกมในทวีปยุโรปสมัยก่อน เล่นกันเป็นทีมโดยฝ่ายหนึ่งตีลูกสามครั้งให้โดนเป้าตามระยะที่กำหนด ส่วนฝ่ายตรงข้ามต้องพยายามตีลูกหนึ่งครั้งกลับไปอยู่ในที่ที่เป็นอุปสรรค

ระยะเวลาหกร้อยปีที่ผ่านมา เกมส์ต่างๆ ในทวีปยุโรปได้พัฒนาจนเข้าสู่ยุคของสกอตแลนด์ซึ่งได้อ้างอย่างหนักแน่นตามหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดกีฬากอล์ฟ ในกลางศตวรรษที่ 15 ในช่วงที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ กีฬากอล์ฟได้เล่นกันในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่สองแห่งราชวงศ์สกอตจากการทำศึกต่อสู้กับอั งกฤษในสมัยนั้น ทางสกอตแลนด์มีบันทึกที่กล่าวไว้ว่า ทางรัฐสภาสกอตได้มีการให้ยกเลิกการเล่นกอล์ฟไปหลายปี เนื่องจากพลธนูและนายทหารไม่ไปซ้อมยิงธนู แต่ได้หันไปติดเล่นกอล์ฟ และ 40 ต่อมาได้มีการสงบศึกกับอังกฤษ พระเจ้าเจมส์ที่สี่ก็รีบยกเลิกกฎหมายห้ามการเล่นกอล์ฟตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในศตวรรษที่ 16 กีฬากอล์ฟถือได้ว่าเป็นกีฬาที่เล่นอย่างแพร่หลายในฝั่งตะวันตกของประเทศสกอตแลนด์

กลางศตวรรษที่ 18 กลุ่มนักกอล์ฟชายในสกอตแลนด์ได้ก่อตั้งสมาคมกอล์ฟขึ้น โดยกำหนดกฎข้อบังคับที่ใช้ในการเล่นกอล์ฟ ต่อมาก็ได้ก่อตั้งสโมสรเดอะรอแยลแอนด์เอนเชียนกอล์ฟคลับออฟเซนต์แอนดรูวส์ (The Royal and Ancient Golf of Saint Anderws ใช้ชื่อย่อว่า R&A) ซึ่งเป็นสมาคมกอล์ฟที่เก่าแก่ที่สุด เพื่อกำหนดและแก้ไขกฎข้อบังคับและมารยาทสำหรับกีฬากอล์ฟอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 20 สมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Golf Association ใช้ชื่อย่อว่า USGA) ได้เข้ามาร่วมวินิจฉัยแก้ไขเพิ่มเติมกฎข้อบังคับและมารยาทสำหรับกีฬากอล์ฟให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น กีฬากอล์ฟได้เริ่มเล่นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 และนิยมเล่นกันแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20

อย่างไรก็ตามผู้ที่บุกเบิกกีฬากอล์ฟแพร่หลายคือชาวสกอตและพัฒนาการเล่นจากทุ่งหญ้าชายฝั่งทะเลไปที่ต่างๆ ทั่วโลกที่ชาวสกอตไปตั้งรกรากถิ่นฐานทำมาหากิน ด้วยความหลงไหลในกีฬากอล์ฟทำให้ชาวสกอตนำไปเผยแพร่และสอนให้ชาติอื่นๆ ได้เรียนรู้วิธีการเล่น รวมทั้งการวางกฎข้อบังคับที่ใช้ในการเล่นมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติกีฬา แชร์บอล

3 Mar


ตั้งแต่อดีตนั้น กีฬาแชร์บอลเป็นเกม กีฬาที่มุ่งเน้นการปลูกฝังหรือเป็นการปูพื้นฐานการเล่นกีฬาจำพวก บาสเกตบอล แฮนด์บอล หรือกีฬาประเภท อื่นๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการเคลื่อนไหว รวมถึงทักษะการฝึกฝนเบื้องต้น ด้านต่างๆเพื่อเป็นการฝึกความพร้อมของร่างกายและจิตใจ
ส่วนระเบียบการเล่นหรือกติกาในตอนแรกยังไม่มีระบุขึ้นมาตายตัว เพียงแต่ยึดถือกติกาบาสเกตบอลในบางส่วนมาใช้ โดยการอนุโลมให้เหมาะสมเท่านั้น จากหลักฐานที่ปรากฏผู้ที่คิดค้นกีฬาแชร์บอลขึ้น มาเล่นคือ พันเอก มงคล  พรหมสาขา ณ สกลนคร และได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลาย ตลอดจนมีการแข่งขันในหลายระดับ ทั้งในหมู่นักเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการต่างๆ
แชร์บอลเป็นกีฬาที่ เล่นง่าย เพราะไม่จำกัดเพศของผู้เล่น คืออาจจะเล่นรวมทั้งชายและหญิงผสมกัน และสถานที่ สามารถเล่นได้กับทุกสนามไม่ว่าจะเป็น สนามหญ้า พื้นดิน พื้นซีเมนต์ พื้นไม้ ฯลฯ
ลูกบอลที่ใช้จะใช้ลูกเนตบอล หรือลูกวอลเลย์บอล ถ้าไม่มีก็ใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น ม้วนผ้าเป็นลักษณะกลมๆ ก็สามารถเล่นได้ ส่วนภาชนะที่ใช่รับลูกบอลนอกจากตะกร้ายังสามารถใช้อย่างอื่นที่ใส่ลูกได้
จุดประสงค์ของกีฬาแชร์บอลคือ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายช่วยกันรับส่งลูกบอลให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันนำลูกบอลผ่าน ฝ่ายตรงข้ามโยนลงไปในตะกร้าของฝ่ายตนเองที่ยืนรอรับอยู่ข้างหน้า(ด้านหลัง ของฝ่ายตรงข้าม)
โดยโยนให้เข้าตะกร้าให้มากที่สุดและในทางตรงกันข้ามอีกฝ่ายก็จะต้องป้องกันไม่ให้ลูกบอลส่งข้ามไปเข้าตะกร้าเช่นกัน

ประวัติกีฬา แฮนด์บอล

3 Mar

แฮนด์บอล (Handball) เริ่มต้นมาจากประเทศเยอรมัน ในราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยครูพลศึกษาคนหนึ่งชื่อ Konrad Koch ได้ริเริ่มและแนะนำกีฬาประเภทนี้ออกมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม เกมแฮนด์บอลก็ยังไม่เป็นที่นิยมกว้างขวางเท่าที่ควร จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2447 แฮนด์บอลจึงได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้นในภาคพื้นยุโรป มีการกำหนดระเบียบและกติกาการเล่นโดยอาศัยกติกาของฟุตบอลเป็นหลัก นักพลศึกษาชาวอเมริกากล่าวว่า กีฬาแฮนด์บอลน่าจะเป็นเกมกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด เพราะมนุษย์นิยมใช้มือกับลูกบอลขว้างมาแต่โบราณแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถจะเดาได้ว่าเกมนี้ได้วิวัฒนาการมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลในปัจจุบันได้อย่างไร

ประเทศยุโรปในฤดูหนาวไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ จึงใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลงเล่นกีฬาฟุตบอลด้วยมือ ตอนแรกใช้ผู้เล่น 11 คนเท่ากับฟุตบอล แต่ไม่สะดวก เพราะสถานที่คับแคบ จึงลดจำนวนผู้เล่นเหลือข้างละ 7 คน จึงกลายมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลแบบการเล่นในปัจจุบัน ในช่วงนั้นแฮนด์บอลมิได้ถือว่าเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีหน่วยงานเป็นของตนเอง แต่คณะกรรมการที่ก่อตั้งและดำเนินการก็มาจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ (The International Amateur Athletic Federation) มีชื่อย่อๆ ว่า I.A.A.F. คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ในทวีปยุโรปสมัยนั้น

หลังจากปี พ.ศ. 2447 กีฬาแฮนด์บอลซึ่งอยู่ในความดูแลของ I.A.A.F. ก็มีความมั่นคงขึ้น และหลายๆ ประเทศให้ความสนใจ และมีการจัดบรรจุในรายการกิจกรรมการกีฬาของประเทศนั้นๆ ด้วย ตลอดจนได้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2469 I.A.A.F. ได้ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากประเทศต่างๆ ในเครือสมาชิกของกีฬาประเภทนี้มีการประชุมตกลงเรื่องกติกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่กีฬาแฮนด์บอลได้ตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยเอกเทศ และมีการริเริ่มตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ประเทศกลุ่มสมาชิก 11 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ The International amateur Handball Federation ก็ได้จัดตั้งขึ้น และบุคคลที่มีความสำคัญของการกีฬาสหพันธ์คือ Every Brundage ประธานของ I.O.C. ได้เป็นสมาชิกขององค์การใหม่นี้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2471 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้มีการสาธิตขึ้นในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮนด์บอลก็ได้บรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C. หลังจากการประชุมที่กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ก็ได้เพิ่มเป็น 25 ประเทศในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นจุดที่ชี้ให้เห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกว่า Nazi Olympic

สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างปัญหาต่างๆ ให้กับการกีฬาเป็นอย่างมากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งที่โคเปนเฮเกน เพื่อที่จะฟื้นฟูกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาใหม่ แต่ก็ล้มเหลว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 จึงได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลขึ้นใหม่ และยอมรับทักษะการเล่นสมัยก่อน ซึ่งทำให้ลักษณะของการเล่นและกติกาเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกัน

สมัยก่อนนิยมการเล่นแบบ 11 คน เช่นเดียวกับฟุตบอล แต่ในยุโรปตอนเหนือได้มีการเล่นแบบ 7 คน และเล่นกันในร่ม ตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ต่อมาการเล่นแฮนด์บอลแบบ 7 คน ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป ทำให้การเล่นแบบ 11 คนได้หายไป ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกก็ยอมรับการเล่นแบบ 7 คน และจากผลของการวิจัยต่างๆ ปรากฏว่าแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเร็วเป็นอันดับสองของโลกรองลงมาจากกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง เหตุที่แฮนด์บอล 7 คนนิยมเล่นในร่มก็อาจเป็นเพราะเนื้อที่สนามน้อย สามารถเล่นในที่แคบๆ ได้ และอีกอย่างก็คือสภาพของดินฟ้าอากาศในฤดูหนาวของทวีปยุโรปนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ดังนั้นแฮนด์บอลจึงไม่สามารถเล่นในสนามกลางแจ้งได้ ด้วยเหตุผลนี้แฮนด์บอลจึงเป็นที่นิยมเล่นกันในร่มหรือโรงยิมเนเซียมแทน

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาของโลกอย่างหนึ่งเพราะการแข่งขันกีฬาสำคัญระหว่างชาติก็มีการแข่งแฮนด์บอลด้วย เช่น กีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ก็ได้มีการแข่งขันแฮนด์บอล หลังจากที่บรรจุไว้ในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้ว และในปี พ.ศ. 2516 ได้บรรจุในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตกด้วย

ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย

กีฬาแฮนด์บอลได้นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา ในสมัยนั้นแฮนด์บอลยังนิยมการเล่นแบบ 11 คนอยู่ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะนิยมเล่นกีฬาประเภทนี้กันเลยยกไป ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยสามารถเล่นฟุตบอลได้ตลอดฤดูกาล กีฬาแฮนด์บอลจึงไม่เป็นที่นิยมเล่นดังกล่าว

ต่อมาในปี พ.ศ.2500 อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้ไปดูงานด้านพลศึกษาในประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน ได้นำกีฬาแฮนด์บอลนี้มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มบรรจุเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาก่อนที่อื่นเพื่อเป็นการทดลอง และต่อมาก็ได้เผยแพร่ไปตามโรงเรียนต่างๆ บ้าง แต่ก็ยังไม่กว้างขวางนัก

ปัจจุบันวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศได้บรรจุวิชาแฮนด์บอลไว้ในหลักสูตร ตลอดจนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 ได้กำหนดเป็นวิชาบังคับ จึงนับได้ว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักเรียนวิทยาลัยพลศึกษา และประชาชนคนไทยมากยิ่งขึ้น

แฮนด์บอลได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศที่กรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพ เมื่อ พ.ศ. 2524 โดยการใช้กติกาการแข่งขันสากลฝ่ายละ 7 คน ปัจจุบัน นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง อธิบดีกรมพลศึกษา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และสภาพของคนไทย จึงได้ส่งเสริมและให้มีการฟื้นฟูกีฬาประเภทนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้กองกีฬากรมพลศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจัดให้มีการอบรมผู้ฝึกสอน อบรมผู้ตัดสิน พร้อมทั้งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลในกีฬากรมพลศึกษาเป็นประจำทุกปี

แนะนำอุปกรณ์แฮนด์บอล

* สนามแข่ง

มีความยาว 40 เมตรและกว้าง 20 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวเรียกว่า เส้นข้าง ด้านสั้นเรียกว่า เส้นประตู ควรมีพื้นที่ข้างสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร ด้านเส้นหลังประตูไม่น้อยกว่า 2 เมตร

* ประตู

มีความกว้าง 3 เมตร สูง 2 เมตร มีตาข่ายขึงติดไว้มีลักษณะหยุ่น เมื่อลูกบอลขว้างไปถูกจะไม่กระดอนกลับออกมาอย่างรวดเร็วในสนามมีเส้นส่งกินเปล่า เส้นเขตประตู เส้นเขตผู้รักษาประตู เส้นเปลี่ยนตัวและเส้น 7 เมตร เส้นประตูอยู่ระหว่างเสาประตูทั้ง 2 ข้าง

* ลูกบอล

เป็นรูปทรงกลม ไม่สะท้อนแสงหรือลื่น ลูกบอลของนักกีฬาชายมีเส้นรอบวง 58-60 ซม. น้ำหนัก 425-475 กรัม จะมีลูกบอล 2 ลูก ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน ส่วนลูกบอลของนักกีฬาหญิงมีเส้นรอบวง 54-56 ซม. น้ำหนัก 325-400 กรัม จะมีลูกบอล 2 ลูกทุกครั้งที่มีการแข่งขัน

กติกาแฮนด์บอล

การแข่งขันแฮนด์บอล ทีมชายและทีมหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที ถ้าครึ่งแรกเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ในครึ่งหลังก็จะต้องหักเวลาที่เกินออกไป แล้วเล่นจนเต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง ถ้าผลเสมอกันในช่วงเวลาปกติ ให้เพิ่มเวลาพิเศษ หลังจากพักแล้ว 5 นาที เพื่อเสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดนสำหรับเวลาในการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่ง โดยไม่มีเวลพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้เสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีการพัก (ถ้าผลจากการต่อเวลาพิเศษยังเสมอกันอยู่ ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ)

*ทีมที่เข้าแข่งขัน

ต้องส่งรายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คนลง (ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน) ที่เหลือเป็นผู้เล่นตัวสำรอง ขณะเริ่มแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน เมื่อแข่งไปจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คนก็ได้ การเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา เปลี่ยนออกมาแล้วก็เปลี่ยนกลับลงไปเล่นได้อีก โดยไม่ต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่จะต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกจากสนามก่อน แล้วก็จะต้องเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ถ้ามีการเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นในทีมนั้นจะต้องออกจากสนาม 1 คน ให้เหลือ 6 คน อยู่ 2 นาทีแล้วแต่ผู้ตัดสินจะกำหนดให้ใครออก

* ผู้รักษาประตู

สามารถออกไปเล่นในสนามได้ และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อกันด้วย เคลื่อนที่ไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอลได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่จะพาลูกออกไปนอกเขตประตูไม่ได้ ถ้าออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูพร้อมกับลูกบอลไม่ได้ ให้นับเป็นประตู ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าประตูของตนก็ให้นับประตูนั้นด้วย

* การเล่นลูกบอล

1. อนุญาตให้ผู้เล่น ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมีทั้งสองได้ รวมทั้งแขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา เข่า จับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือ 2 มือ จะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าวการพิจารณาก้าว คือ

*ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างบนพื้น แล้วยกเท้าหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนไปที่อื่น

*ผู้เล่นสัมผัสพื้นเพียงเท้าเดียว จับลูกบอลแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น

*ก้าวขากระโดดลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น

*กระโดดลงสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้ 2 พร้อมกัน แล้วยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งไปยังที่อื่น (ให้ลากเท้าอีกข้างตามได้)

*ในขณะยืนหรือวิ่ง กระดอนลูกครั้งหนึ่งและจับด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ

*การเลี้ยงลูกบอล กระดอนซ้ำด้วยมือเดียวหรือกลิ้งบอล หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ

*ขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือนั้น ทำได้ภายใน 3 วินาที หรือจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลได้อีก

*ส่งบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง

2. เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้

*ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากลูกบอลไปถูกผู้เล่นอื่น หรือเสาประตู

*การพยายามครองลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกลงโทษ

หมายเหตุ ลูกบอลพลาด หมายถึงการที่ผู้เล่นพยายามที่จะจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการครอบครอง

*ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไปยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้เล่น แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือทีมของเขา

*ทิ้งตัวลงเล่นในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูของตัวเอง

*เจตนาทำลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่พยายามที่จะครอบครองลูกบอลพลาดภายในเขตประตู และลูกบอลได้ออกไปทางเส้นประตูโดยตรง (ส่งจากประตู)

*ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษโดยให้ส่งลูกกินเปล่าจากจุดที่ลูกได้หยุดลง

*การเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม

* การนับประตู

จะนับเป็นประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตูโดยผู้ทำประตูและเพื่อนร่วมทีมไม่ทำผิดกติกาก่อน ถ้าลูกบอลจะเข้าประตูแน่นอนแต่บุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนามมาป้องกันไม่ให้ลูกบอลเข้าประตู ผู้ตัดสินพิจารณาให้เป็นประตู เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้ว ประตูที่ได้จะเปลี่ยนแปลไม่ได้ ผู้ที่ทำประตูได้มากกว่าถือว่าเป็นผู้ขนะการแข่งขัน

หมายเหตุ ถ้าทั้ง 2 ทีมได้คะแนนเสมอกัน ให้ถือว่าเสมอกัน

* การส่งเริ่มเล่น

จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามในในทิศทางใดก็ได้ต้องทำภายใน 3 วินาที ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร (ยกเว้นผู้กระโดด)

* การส่งลูกเข้าเล่น

ต้องส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลออกโดยผู้ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้นข้างจนกว่าลูกจะหลุดมือแล้วผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด

* ผู้รักษาประตูส่งลูก

จะต้องส่งลูกบอลข้ามเส้นเขตประตูไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน

* การส่งลูกกินเปล่า

1. การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำในกรณีดังนี้

-การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู้สนามผิดกติกา

-ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา

-ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู

-เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง

-เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นประตูหรือเส้นข้าง

-ถ่วงเวลาในการเล่น

-การฟาวล์เนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากประตู

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า

-การหยุดเล่นโดยที่ไม่มีการทำผิดกติกา

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงประตูโทษ

-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกของผู้ตัดสิน

-ทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่ง

-การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

-การรุกราน

2. ส่ง ณ จุดที่ผิดกติกาโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน ถ้าฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่า และจุดที่ผิดกติกาอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรับ การส่งนี้ให้ส่ง ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับจุดที่ผิดกติกานอกเส้นส่งลูกกินเปล่า

3. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งพร้อมลูกบอลแล้ว เขาจะเลี้ยงลูกบอลหรือวางลูกบอลลงแล้วเก็บขึ้นมาอีกไม่ได้

4. ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่ถูกหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ทำการส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องจัดตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเส้นส่งลูกกินเปล่าให้ถูกต้องจากนั้นผู้ตัดสินจึงให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งลูกกินเปล่า

5. ในขณะส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากจุดส่งลูกกินเปล่าอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นฝ่ายรับอาจยืนใกล้จุดนอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าได้ทำการส่งบนเส้นส่งลูกกินเปล่า

6. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในขณะที่ฝ่ายป้องกันทำผิดกติกา ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ ถ้าการทำผิดกติกานั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล จะต้องให้ฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อยถ้ามีการทำผิดกติกา แล้วฝ่ายรุกยังคงครอบครองลูกบอลได้อีกครั้ง จะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่า

7. ในกรณีที่การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดทำผิดกติกา และมีทีมหนึ่งครอบครองลูกบอลอยู่ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยทีมที่ครอบครองลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง โดยการส่งลูกกินเปล่าหรือการส่งตามข้อกำหนด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด

8. ในขณะที่มีการตัดสิน ฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกบอลลงใกล้ๆ กับผู้เล่นนั้นทันที

* การยิงลูกโทษ

-ฝ่ายรับจะต้องอยู่ห่างจากจุดยิง ไม่น้อยกว่า 3 เมตร -ถ้าในขณะที่มีการยิงลูกโทษ ผู้รักษาประตูแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกจะหลุดจากมือผู้ยิงลูกโทษ ให้ทำการยิงประตูลูกโทษใหม่ (ถ้าลูกนั้นไม่ได้ประตู)

* การโยนลูกโดยผู้ตัดสิน

เมื่อมีการทำผิดกติกาพร้อมกัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม หรือหยุดการเล่นโดยไม่มีฝ่ายใดทำ กระทำที่จุดกึ่งกลางสนาม

* การสั่งพัก 2 นาที

จะส่งเมื่อมีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องหรือกระทำผิดซ้ำ ฯลฯ ถ้าคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3 คนนั้นจะถูกตัดสินออกจากการแข่งขัน ในการเตือนจะให้ใบเหลืองเพื่อแสดงให้ผู้บันทึกทราบ และให้ใบแดงในกรณีที่ทำผิดรุนแรงเกินกว่าเหตุอื่นๆ อาจจะให้แก่ผู้เล่น

* ผู้ตัดสิน 2 คน

สวมชุดสีดำ ถ้าความเห็นขัดกัน ยึดผู้ตัดสินที่อยู่ในสนามเป็นหลัก (ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก) และมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมใบบันทึกที่สมบูรณ์ถูกต้อง ผู้ตัดสินสามารถยุติการแข่งขันได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องดำเนินการแข่งขันต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน

* การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม

อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้

*ใช้มือหรือแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล

*แบมือเล่นลูกบอลจากคู่ต่อสู้ได้ทุกทิศทาง

*ใช้ลำตัวบังคับคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล

ไม่อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้

*กีดกันคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน หรือขา

*ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปอยู่ในเขตประตู

*ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้ที่ครอบครองลูกบอลอยู่

*ใช้กำปั้นทุบลูกบอลจากคู่ต่อสู้

*ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย

*ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย

*ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ หรือผลักคู่ต่อสู้

*ทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม จะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า หรือให้ยิงลูกโทษ

*การทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม การกระทำฟาวล์ในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่การเข้าหาคู่ต่อสู้โดยที่มิได้ครอบครองลูกบอลจะถูกลงโทษซ้ำให้พิจารณาถึงการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย

*การทำฟาวล์ที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม หรือลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นคนนั้น

*ผู้เล่นที่ทำร้ายผู้อื่นในสนามจะถูกไล่ออก

*การลงโทษ

1. การเตือนโดยไม่มีการบันทึก

2. การเตือนที่ผู้ตัดสินแจ้งให้กับผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบ โดยการใช้บัตรสีเหลือง หมายเหตุ การเตือนทั้งทีมไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นคนอื่นๆ ทำผิดอีกจะไม่มีการเตือน แต่จะให้เป็นการสั่งพักเท่านั้น

3. การสั่งพัก จะต้องแสดงสัญญาณมือให้ผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บันทึก ผู้จับเวลา ได้เห็นอย่างชัดเจน (ชูมือข้างหนึ่งขึ้นและเหยียดนิ้วขึ้น 2 นิ้ว) การสั่งพักโดยปกติหยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 ผู้เล่นคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

4. การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

-ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องเข้าไปในสนาม

-การทำผิดอย่างร้ายแรงที่เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้

-กระทำโดยไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

-ถูกสั่งพักครั้งที่ 3

-ก้าวร้าวเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนอกสนามแข่งขัน

หมายเหตุ การตัดสิทธิ์จากการแข่งขันผู้เล่นในสนาม จะต้องทำคู่ไปกับการสั่งพัก 5. การไล่ออกจากการแข่งขัน เมื่อมีการทำร้ายกันในสนาม

หมายเหตุ การทำร้าย คือการรุกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำต่อร่างกายผู้อื่น เช่น ผู้เล่น ผู้ตัดสิน ผู้บันทึก ผู้จับเวลา เจ้าหน้าที่ หรือผู้ชม (การไล่ออกจากสนามผู้ตัดสินจะใช้สัญญาณ ยกมือไขว้เหนือศีรษะ)

ผู้เล่นอื่นที่ถูกไล่ออกจากสนามจะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอื่นเข้าแทน ผู้ถูกไล่ออกจะต้องออกจากสนามแข่งขัน และนอกบริเวณที่นั่งผู้เล่นสำรอง

6. ถ้าผู้รักษาประตูถูกสั่งพัก ตัดสิทธิ์ หรือไล่ออก จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูสำรองเข้าแทนได้ ในกรณีนี้ผู้เล่นในสนามจะต้องออกจากสนามแทน

7. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือการก้าวร้าว จะพิจารณาโทษดังนี้

-การตัดสิทธิ์ก่อนการแข่งขัน ผู้เล่นในทีมนั้นจะได้เล่นโดยมีจำนวนผู้เล่นเต็ม 12 คน

-การตัดสิทธิ์ระหว่างการแข่งขัน จะมีการเตือนก่อน และถ้าทำการก้าวร้าวซ้ำ จะถูกพิจารณาลงโทษตัดสิทธิ์การแข่งขัน

-การตัดสิทธิ์หลังการแข่งขัน มีการเขียนรายงานให้ทราบ

ประวัติกีฬา ตระกร้อ

3 Mar

ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”

ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

กติกาเซปักตะกร้อ

1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

แนะนำการดูตะกร้อ

มารยาทในการเล่นที่ดี
การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา

มารยาทของผู้ชมที่ดี
1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ

ประวัติกีฬา ปิงปอง

3 Mar

เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า  ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ  ในปี ค.ศ.  1890  ในครั้งนั้น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย  ไม้  หนังสัตว์  ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้   หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน  ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์  เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก”  ดังนั้น  กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า  “ปิงปอง” (PINGPONG)  ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน  ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน

    วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด  (PUSHING)  ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ  BLOCKING และ CROP  การเล่นถูกตัด  ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป  และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ  ทั่วยุโรป  การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่  2  ลักษณะ  คือ  จับไม้แบบจับมือ  (SHAKEHAND)  ซึ่งเราเรียกกันว่า  “จับแบบยุโรป”  และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER)  ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน”  นั่นเอง
    ในปี ค.ศ. 1900  เริ่มปรากฏว่า  มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน  ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น  และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์  บาร์น่า (VICTOR BARNA)  อย่างแท้จริง  เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม  รวม 7 ครั้ง  และประเภทชายเดี่ยว  5 ครั้ง  ในปี ค.ศ. 1929-1935  ยกเว้นปี  1931  ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น  ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK)  และการรับ (DEFENDIVE)  ทั้งด้าน  FOREHAND  และ  BACKHAND  การ จับไม้ก็คงการจับแบบ  SHAKEHAND  เป็นหลัก  ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป  แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER  ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป  ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1922  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา  ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น  “TABLE TENNIS”  ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง  และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง  และแล้วในปี ค.ศ. 1926  จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  ค.ศ. 1926  ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย  DR. GEORG LEHMANN  แห่งประเทศเยอรมัน  กรุงเบอร์ลิน  เดือนมกราคม  ค.ศ. 1926  ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ก็ได้เริ่มขึ้น  พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ  โดยมีนายอีวอร์  มองตากู  เป็นประธานคนแรก  ในช่วงปี ค.ศ. 1940  นี้  ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น  3  ลักษณะดังนี้
1.  การจับไม้  เป็นการจับแบบจับมือ
2.  ไม้ต้องติดยางเม็ด
3.  วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน  คือ  การรับเป็นส่วนใหญ่  ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น  “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

ในปี ค.ศ. 1950  จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
1.  การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
2.  การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

ในปี ค.ศ. 1952  ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก  ที่กรุงบอมเบย์  ประเทศอินเดีย  และต่อมาปี ค.ศ. 1953  สาธารณรัฐประชาชนจีน  จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์  ประเทศรูมาเนีย  จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง  โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย  เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า  ข้อศอก  และข้อมือเท่านั้น  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง”  ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้  การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก  เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น)  ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า  การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก  แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี  โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work  ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง  7  ครั้ง  โดยมี  5  ครั้งติดต่อกัน  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1960  เริ่มเป็นยุคของจีน  ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว  ผสมผสานกับการป้องกัน  ในปี  1961  ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ  ครั้งที่  26  ที่กรุงปักกิ่ง  ประเทศจีน  จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก  ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา  โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม  3  ครั้งติดต่อกัน  ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ  โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น  เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง  นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ  ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่  ในปี  1967  และ  1969  ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน  ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป  จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก  และแล้วในปี  1970  จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย

ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ  10  ปี  ตั้งแต่  1960-1970   นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉายแสงเก่งขึ้น  และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก  ครั้งที่  31  ณ กรุงนาโกน่า  ในปี  1971  โดยนักเทเบิลเทนนิส  ชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป  ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง  18  ปี  ในปี 1973  ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา  ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา  ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น  เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี  1960  เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก  โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ  การใช้ยาง  ANTI – SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุด และขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก

ประวัติกีฬา ยูโด

3 Mar

ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร
เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)
ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน
ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้ง The Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ
ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา

พื้นที่แข่งขัน

พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร

เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน

นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง

เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.  ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2.  สีขาวหรือขาวหม่น
3.  เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4.  เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5.  กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6.  เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7.  ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้

ประวัติกีฬา ว่ายน้ำ

3 Mar

กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย
การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)
ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

กติกาว่ายน้ำ

การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้

ผู้ควบคุมการแข่งขัน
ผู้ตัดสินชี้ขาด   1   คน
กรรมการดูฟาวล์   4   คน
ผู้ปล่อยตัว    2   คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ)   2   คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2   คน
หัวหน้าผู้บันทึก   1   คน
ผู้บันทึก    1   คน
ผู้รับรายงานตัว   2   คน
กรรมการเชือกฟาวล์   1   คน
ผู้ประกาศ    1   คน

จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ

หัวหน้าผู้จับเวลา   1   คน
ผู้จับเวลาลู่ละ    3   คน
(กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
หัวหน้าเส้นชัย    1   คน
กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย)  1   คน

หน้าที่
– ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
– ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
– ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
– หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
– กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
– กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
– หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
– กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
– หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
– กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
– เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว

การจับเวลา
– ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
– ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
– ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

แนะนำการดูว่ายน้ำ

1. การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
1.1 การแข่งขันอื่นๆ อาจใช้ระบบจับฉลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้เข้าแข่งขันได้
1.2 ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ การจัดเข้าสู่ลู่ว่าย ดังนี้
– รอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องแจ้งเวลาว่ายของตนไม่เกิน 12 เดือน ไว้ในใบสมัครใครไม่แจ้งถือว่ามีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้ามีหลายคนให้ตัดสินโดยการจับฉลาก
– ถ้ามี 2 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ในชุดที่ 2 ให้ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 1 ผู้มีเวลาเร็วเป็นคนที่ 3 ให้อยู่ในชุดที่ 2 และผู้มีเวลาเร็วคนที่ 4 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อยๆ
– ถ้ามี 3 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดอยู่ในชุดที่ 3 ผู้ที่มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 2 ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 3 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อย (ชุด 3-2-1)
– ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่า ใน 3 ชุด ให้จัดเหมือนกันกับชุดที่ 3 โดยที่ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้ไปชุดที่ 4 (ชุด 4-3-2-1) การกำหนดลู่ของการว่าย 50 เมตร ลู่หมายเลข 1 จะอยู่ทางขวาของสระเมื่อยืนหันหน้าไปทางปลายสระ ผู้มีเวลาเร็วที่สุดจะอยู่กลางสระลู่ที่ 3 หรือ 4 คนที่มีเวลารองลงไปให้อยู่ทาง…มือของคนแรก คนที่มีเวลารองลงไปอีกให้อยู่ทาง…มือของคนแรก สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าเวลาเท่ากันให้จับฉลาก

2. การเริ่มต้นแตกต่างกัน ดังนี้
2.1 ฟรีสไตล์ , กบ และผีเสื้อ จะต้องเริ่มโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ
2.2 กรรเชียง และผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ
2.3 การเริ่มต้นที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น จะต้องมีเสียงสัญญาณการฟาวล์ และจะต้องปล่อยเชือกฟาวล์ลงไปในน้ำด้วย
3. แบบของการว่าย มีหลายแบบ คือ
3.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ คือการว่ายแบบใดก็ได้ยกเว้นการว่ายแบบเดี่ยวผสม หรือผลัดผสมจะต้องว่ายนอกเหนือจากการว่ายแบบกรรเชียง, กบ หรือผีเสื้อ การกลับตัวก็สามารถที่จะใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดแตะขอบสระได้
3.2 การว่ายแบบกรรเชียง จะต้องถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย ต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน บางส่วนของร่างกายต้องพ้นผิวน้ำตลอดการแข่งขัน ยกเว้นเวลากลับตัวจะจมน้ำไม่เกิน 15 เมตร เมื่อกลับตัวแล้วจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะผนังสระและเข้าเส้นชัยในท่านอนหงาย
3.3 การว่ายแบบกบ จะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า แขนทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน มือทั้ง 2 ต้องพุ้งไปข้างหน้าพร้อมกันส่วนข้อศอกอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อดึงมือไปข้างหน้าพร้อมกันจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ขาทั้ง 2 ต้องเคลื่อนที่พร้อมกัน การเตะเท้า เตะไปด้านหลัง การกลับตัว การเข้าเส้นชัยต้องแตะด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน การดึงแขน 1 ครั้ง และการเตะขา 1 ครั้ง จะต้องมีบางส่วนของศีรษะโผล่พ้นระดับให้เห็น ยกเว้นการกลับตัวให้ดำน้ำได้ 1 ครั้ง
3.4 การว่ายแบบผีเสื้อ จะต้องคว่ำหน้าตลอดระยะทาง ไม่ให้ม้วนตัวหงายกลับในการกลับตัว แขนทั้ง 2 จะต้องยกเหนือน้ำพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย และการกลับตัวจะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้ง 2 พร้อมๆ กันดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
3.5 การว่ายแบบผสม
3.5.1 การว่ายแบบเดี่ยวผสม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่าย 4 แบบ ตามลำดับ ผีเสื้อ, กรรเชียง, กบ, และฟรีสไตล์
3.5.2 การว่ายแบบผลัดผสม มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน ต้องว่ายคนละ 1 แบบ ตามลำดับ คือ กรรเชียง, กบ, ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
4. การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนดไว้ ต้องเข้าเส้นชัยตามลู่เดิมที่เขาตั้งต้น การกลับตัวต้องกระทำกับผนังหรือขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ ผู้ที่ว่ายเข้าไปในลู่ของคนอื่นจะถูกปรับให้แพ้ การแข่งขันว่ายผลัดจะต้องมีทีมละ 4 คน และถ้าผู้เล่นคนใดกระโดดออกจากแท่นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะผนังสระ จะต้องให้ออกจากการแข่งขัน ยกเว้นขากลับมาแตะอีกครั้งหนึ่ง…… โดยไม่ต้องขึ้นไปกระโดด ผู้ว่ายผลัดเมื่อว่ายเสร็จแล้ว จะต้องขึ้นจากสระทันที

ชนิดของการแข่งขัน (จะมีการบันทึกเป็นสถิติโลก)
ฟรีสไตล์  50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500  เมตร
กรรเชียง  100 และ 200   เมตร
กบ  100 และ 200   เมตร
ผีเสื้อ  100 และ 200   เมตร
เดี่ยวผสม  200 และ 400   เมตร
ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200    เมตร
ผลัดผสม  4 x 100    เมตร

ประวัติกีฬา กรีฑา

3 Mar

ประวัติกีฬากรีฑา 

สมัยมนุษย์ชาวถ้ำ กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดมาพร้อมกับมนุษย์
เพราะแต่ก่อนมนุษย์เราไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก เครื่องนุ่งห่มเหมือนปัจจุบัน
มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด
มีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวคือ ตามถ้ำซึ่งเราเรียกว่า Cave man พวกนี้แหล่ะที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา
โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องกันตัวเองจากสัตว์ร้ายบางครั้งต้องวิ่งหนี การพยายามวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ไป
การวิ่งเร็วของคนถ้าหากเทียบกับปัจจุบันก็เป็นพวกวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีที่ต้องใช้การวิ่งเวลานาน ๆ
ก็เป็การวิ่งระยะยาว หรือวิ่งทน การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้
ระหว่างเผ่ากันด้วย ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นต่ำก็กระโดดข้ามไป
ปัจจุบันก็เป็นกระโดดข้ามรั้วและกระโดดสูง ถ้าต้องกระโดดข้ามลำธารเล็ก ๆ แคบ ๆ เป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน
ก็กลายมาเป็นกระโดดไกลและเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้างสุดที่จะกระโดดไกล
และเขย่งก้าวกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาว ๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน
และโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ก็กลายเป็นกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนที่ทำด้วยไม้ยาว ๆ เป็นอาวุธ
พุ่งฆ่าสัตว์ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ ๆ ทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ก็กลายเป็น
ขว้างจักรในสมัยนี้ จึงได้เห็นได้ว่าการวิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อ แม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอน
ถ่ายทอดให้กันสมัยนั้น เพื่อไว้ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันมาในปัจจุบันก็มีเช่นกัน
ผู้ทำหน้าที่นั้นก็คือ ครูบาอาจารย์ และโค้ชนั่นเอง
สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของ ? โฮเมอร์? มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฟากฝั่งแม่น้ำ ? ไทเบอร์?
ทางด้านตะวันออกของกรีก พวกนี้เองตอนหลังกลายเป็นพวกโรมันเป็นชาตินักรบมีความกล้าหาญ อดทน
และมีอิทธิผลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อม ๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก และในที่สุด เมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้
อำนาจของจักรวรรดิโรมัน การกีฬาของกรีกก็พลอยเสื่อมลงเป็นลำดับ ส่วนการพลศึกษาของโรมันเจริญขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์ทางด้านพลศึกษา เพื่อให้พลเมืองมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเป็นทหารของชาติต่อไป
ประวัติกรีฑาในประเทศไทย 
การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกัน
ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440
เป็นต้นมา การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป
และเมื่อเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียน
รวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง
(ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอด
ต่อกันมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติ
ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุน
จัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย
และกรีฑาระหว่างประชาชน เป็นต้น ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชน
แทนกรมพลศึกษาและในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลก
ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬา
ประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆ ปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด
ในการแข่งขันกีฬาเขต (กี ฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง
ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่น
ฃแห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์